โรงเรียนบ้านหนองคันนา ได้พัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน โดยมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการบริหารการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ และได้รับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองรับการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเต็มตามศักยภาพ จึงจัดทำโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาขึ้นมา สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทยและกรอบแนวทางที่สำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
ตามวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทย “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาคนไทยให้มีความสุขและตอบสนองตอบต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูงเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ โดยมีกรอบแนวทางที่สำคัญของยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ในการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่งถึง ปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี สร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย
โรงเรียนบ้านหนองคันนา ได้พัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน โดยมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการบริหารการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ และได้รับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา รองรับการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเต็มตามศักยภาพ จึงจัดทำโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาขึ้นมา สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทยและกรอบแนวทางที่สำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายดังนี้
๑. วัตถุประสงค์
๑.๑ เพื่อให้บุคลากร (ผู้บริหารครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา) มีความรู้ความเข้าใจ มีการปฏิบัติตน มีการขยายผล และให้ความร่วมมือในการขยายผล และขยายผลสู่ภายนอกสถานศึกษา
๑.๒ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
๑.๓ เพื่อสร้างเครือข่ายกับสถานศึกษาอื่นและหน่วยงานภายนอก
๒.๑ เป้าหมายเชิงปริมาณ
ผู้บริหาร ครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา ๔๔๗ คน
๒.๒ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
- ผู้บริหารครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนำไปใช้ปรับปรุงพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
- โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- โรงเรียนมีเครือข่ายการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นพี่เลี้ยงให้กับสถานศึกษาอื่น
ในการดำเนินกิจกรรม ผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มุ่งดำเนินการ ไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ เสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อฝึกซ้อม ทำกิจกรรมร่วมกัน และการถอดบทเรียน มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ จนงานบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
๓.๑ ความสำเร็จของการดำเนินงาน
- ผู้บริหาร มีความรู้ความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวิสัยทัศน์ในการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถสร้างความสัมพันธ์กับครู บุคลาการทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
- ครู และบุคลากรทางการศึกษา ความรู้ความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการพัฒนาตน ปฏิบัติตน และเป็นแบบอย่างที่ดี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูสามารถพัฒนาหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักความรู้ความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีสื่อ การวัดผลประเมินผลที่หลากหลายและเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
- นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถถอดบทเรียน และมีนิสัยที่พอเพียง
- คณะกรรมการสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจตามหลักปรัขญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเข้าร่วมในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- โรงเรียนมีอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ผู้บริหาร ครู และบุคลาการทางการศึกษา สามารถเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
- โรงเรียนมีเครือข่ายการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นพี่เลี้ยงให้กับสถานศึกษาอื่น
- โรงเรียนมีความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานต่างๆ ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่มาศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้
โรงเรียนบ้านหนองคันนาได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานด้วยให้สถานศึกษาเข้าศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๔ โรงเรียน ดังนี้
๔.๑ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๓ จำนวน ๔ โรงเรียน ได้แก่
๑) โรงเรียนบ้านพนมดิน
๒) โรงเรียนบ้านไทยสันติสุข
๓) โรงเรียนบ้านโคกโบสถ์
๔) โรงเรียนบ้านแนงมุด
การถอดบทเรียนของฐานการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้พอเพียง